สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 4-10 พ.ค. 61



ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561 6) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,421 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,322 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,836 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,936 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,290 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,670 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.21
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,161 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,740 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,158 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,331 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 409 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,240 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 456 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,306 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 66 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,766 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,804 บาท/ตัน)ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.14 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 38 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,734 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,867 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 133 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.6449
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
           นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม – เมษายน) ประเทศไทยส่งออกข้าวสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ปริมาณ 3.31 ล้านตัน มูลค่า 1,826 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำอินเดียที่ส่งออกได้ปริมาณ 3.21 ล้านตัน เวียดนาม 1.61 ล้านตัน และปากีสถาน 1.28 ล้านตัน ไทยจึงได้ปรับเป้าหมายการส่งออกข้าวปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตัน มูลค่า 4,525 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมคาดการณ์ที่ 9.00-9.50 ล้านตัน เนื่องจากมีข้าวอยู่ในคลังเป็นจำนวนมาก จึงมั่นใจว่าช่วง 8 เดือนที่เหลือ จะสามารถส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น โดยชนิดข้าวที่ส่งออกมากที่สุดคือ ข้าวขาว ร้อยละ 48.74 รองลงมาข้าวนึ่ง ร้อยละ 27.70 และข้าวหอมมะลิไทย ร้อยละ 16.19 โดยราคาส่งออกข้าวของไทยเกือบทุกชนิดในเดือนเมษายน 2561 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาข้าวหอมมะลิไทยอยู่ในระดับคงที่จากเดือนมีนาคม 2561 ที่ราคาตันละ 1,150 เหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกข้าวในช่วงไตรมาที่ 2/2561 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้นำเข้าข้าวในหลายประเทศยังมีความต้องการนำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่อง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ไทยส่งออกข้าวในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ให้รัฐวิสาหกิจที่ค้าขายสินค้าธัญพืชและน้ำมันพืช (COFCO) จากที่เคยทำสัญญากันก่อนหน้านี้ที่จะส่งมอบข้าว 1 ล้านตัน โดยขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างการส่งมอบข้าวงวดที่ 5 ปริมาณ 1 แสนตัน และคาดว่าจะส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2561 ขณะเดียวกันได้มีการยื่นหนังสือกับผู้เกี่ยวข้องในการทำสัญญาส่งมอบข้าวครั้งที่สองอีก 1 ล้านตัน ส่วนกรณีที่ฟิลิปินส์มีหนังสือเชิญชวนให้ไทยร่วมประมูลข้าวแบบ G to G โดยหน่วยงาน National Food Authority (NFA) ปริมาณรวม 250,000 ตัน แบ่งเป็นข้าวขาว 15% ปริมาณ 50,000 ตัน และข้าวขาว 25% ปริมาณ 200,000 ตัน กำหนดส่งมอบในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2561 นั้นทางไทยก็สนใจเข้าร่วมเช่นกัน
          นายอดุลย์ กล่าวว่า “แนวโน้มการส่งออกข้าวน่าจะยังดีอยู่ เพราะตลาดต่างๆ มีความต้องการข้าวสูง และตลาดในปีนี้น่าจะเป็นของผู้ขาย จึงทำให้มีแต่คนที่ต้องการข้าว ซึ่งนานๆ ทีจะอยู่ในสภาวะที่หล่อเลือกได้” ขณะที่ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2561 มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ระบายข้าวกลุ่มที่ 1 ที่เหลืออยู่ 4.4 หมื่นตัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำข้อกำหนดผู้ว่าจ้าง (TOR) โดยจะชี้แจงในวันที่ 7 พฤษภาคม ส่วนข้าวในกลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ทาง นบข. ได้อนุมัติให้ระบายได้แล้วประมาณ 2 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม 2 ที่เป็นกลุ่มอาหารสัตว์ ที่สามารถเอาไปใช้ได้ในอุตสาหกรรมอาหาหารสัตว์ มีข้าวค้างอยู่ 1.5 ล้านตัน และในกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่บริโภคไม่ได้อีก 5 แสนตัน คาดว่าจะสามารถระบายได้หมดภายในเดือนหน้า

ที่มา: matichon.co.th


เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ในระดับทรงตัวท่ามกลางข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการทำประมูลข้าวของฟิลิปปินส์ ซึ่งคาดว่าเวียดนามจะประมูลได้บางส่วนโดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ระดับ 445-450 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เท่ากับเมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ กระทรวงการค้า (The Ministry of Industry and Trade) ได้มอบหมายให้บริษัทNorthern Food Corp (Vinafood I) เข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ และมีรายงานว่าบริษัทของเวียดนามได้เสนอข้าวขาว 15% จำนวน 50,000 ตัน ที่ราคาตันละ 526.5 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวขาว 25% จำนวน 80,000 ตัน ที่ราคาตันละ 517.5 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปรากฏว่าเวียดนามประมูลได้รวม 130,000 ตัน ตามที่ได้ยื่นเสนอราคาไป โดยคาดว่าจะเริ่มมีการส่งมอบข้าวขาว 25% ล็อตแรกจำนวน 40,000 ตัน ภายในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ และส่วนที่เหลือจะส่งมอบภายในวันที่ 15 มิถุนายน ส่วนข้าวขาว 15% จำนวน 50,000 ตัน จะส่งมอบภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (the Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) รายงานว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 2.16 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.10 พันล้านเหรียญ โดยที่ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และร้อยละ 35.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ของเวียดนามยังคงเป็นประเทศจีนคิดเป็นร้อยละ 29.1 ของปริมาณส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 501 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 15 ทั้งนี้ ข้าวที่เวียดนามส่งออกประมาณร้อยละ 81 เป็นข้าวคุณภาพสูง ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ข้าวของเวียดนาม ในช่วงปี ค.ศ. 2017-2020 ที่ต้องการจะลดการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำและเปลี่ยนไปเป็นการส่งออกข้าวคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Industry and Trade; MoIT) ได้พิจารณาที่จะปรับลดขั้นตอนการส่งออกข้าวลงจากเดิมที่มีถึง 54 ขั้นตอนจาก 10 หน่วยงาน โดยจะลดระยะเวลาสำหรับการทำเอกสารต่างๆ จากเดิมที่ต้องใช้เวลาประมาณ 15 วัน ลงเหลือประมาณ 10 วันทำการ

ที่มา: thairiceexporters.or.th

อินเดีย
          ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะความต้องการข้าวจากผู้ซื้อในแอฟริกาที่เพิ่มขึ้น โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ระดับ 412-416 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เพิ่มขึ้น 3 เหรียญสหรัฐฯ จากระดับ 409-413 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่ต่ำสุดในรอบกว่า 4 เดือนครึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 14 เดือน ทำให้ผู้ส่งออกเสนอราคาข้าวลดลงด้วย) องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า การจัดหาข้าวตามโครงการ จัดหาข้าวของรัฐบาลในปีการตลาด 2560/61 (ตุลาคม 2560-กันยายน 2561) สำหรับฤดูการผลิตหลัก (Kharif marketing season) ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 สามารถจัดหาข้าวได้แล้วประมาณ 32.43 ล้านตัน โดยจัดหาจากแค้วน Punjab และ Haryana มากที่สุดประมาณ 11.83 และ 3.97 ล้านตัน ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2560/61 รัฐบาลตั้งเป้าจัดหาข้าวไว้ที่ 37.5 ล้านตัน โดยได้กำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเปลือกเกรดธรรมดา (common grade rice) ไว้ที่1,550 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณ 236 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และข้าวเปลือกเกรด A (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,590 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณ 242 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2559/60 รัฐบาลจัดหาข้าวได้ประมาณ 38.7 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ 33 ล้านตัน

ที่มา: thairiceexporters.or.th


 

 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
         ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.55 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.42 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.95 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61
            ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.43 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.74 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.37
            ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 333.20 ดอลลาร์สหรัฐ (10,544 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 350.75 ดอลลาร์สหรัฐ (11,004 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.00 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 460.00 บาท
            ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 402.92 เซนต์ (5,087 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 400.08 เซนต์ (5,012 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 75.00 บาท
 

มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.35 ล้านตัน (ร้อยละ 4.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – เมษายน 2561) ปริมาณ 22.65 ล้านตัน (ร้อยละ 83.16 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.52 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.44 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.35 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.68 
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.23 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.45 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.27 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.11 
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 252 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,975 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 63 บาท 
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 548 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 17,341 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 136 บาท
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ          
          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.488 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.239 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ  0.210 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 20.10 และร้อยละ 20.48 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.88 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.86 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.70                                        
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
   
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
         ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนกรกฎาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,381 ริงกิตต่อตัน (603.09 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.1 เนื่องจากความต้องการของผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบลดลง และแนวโน้มการส่งออกในช่วง 10 วันแรกของเดือนพฤษภาคมลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียถูกเรียกคืนในอัตราร้อยละ 5 ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบมีแนวโน้มลดลงอยู่ที่ระดับ 2,400 ริงกิตต่อตัน เนื่องจากผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในช่วงปลายเดือนเมษายนชะลอตัวอยู่ที่ 1.57 ล้านตัน และราคาน้ำมันปาล์มดิบยังได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของน้ำมันบริโภคที่มีส่วนร่วมของตลาดน้ำมันพืชโลก
ราคาในตลาดต่างประเทศ  
         ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,360.94 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.40 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,331.51 ดอลลาร์มาเลเซีย  (19.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.26
         ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 638.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.46 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 636.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (20.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.23
 
หมายเหตุ: ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน


อ้อยและน้ำตาล 

สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและ การผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 132.64 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 14.47 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 10.59 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 3.88 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.50 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 109.12 กก.ต่อตันอ้อย

สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

 
ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก หมายเลข 11 (เซนต์/ปอนด์)
 

 
ราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดลอนดอน หมายเลข 5 (เหรียญสหรัฐฯ/เมตริกตัน)
 


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.59 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,012.20 เซนต์ (11.93 บาท/กก.) ลดลง จากบุชเชลละ 1,040.16 เซนต์ ( 12.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.69
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 389.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.49 บาท/กก.)  ลดลงจากตันละ 397.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.64 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.97
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.71 เซนต์ (21.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 30.36 เซนต์ (21.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.15
 

 

ยางพารา

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 48.83 บาท/กิโลกรัม

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
ภาพรวมราคายางพาราที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศและราคาส่งออก F.O.B ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยเพราะมีฝนตกชุกในพื้นที่ปลูกยางหลายพื้นที่ และพื้นที่กรีดยางบางแห่งยังไม่เปิดกรีดส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น ทางด้านการจัดนิทรรศการยางพารา วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการการจัดประชุมคณะกรรมการจัดงานนิทรรศการ “มหกรรมยางพารา และนวัตกรรม 2018” เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยจะเน้นให้เกษตรกรชาวสวนยาง , ชุมนุมสหกรณ์ต่าง ๆ , นักลงทุนทั้งในพื้นที่ และต่างประเทศ เช่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอินเดีย ฯลฯ มาร่วมงาน โดยได้กำหนดให้จัดงานในวันที่ 17-19 กันยายน 2561 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการจัดนิทรรศการการพัฒนางานวิจัยด้านนวัตกรรมยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ , การเจรจาธุรกิจ , การจัดเวทีวิชาการ , การประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา , การสนับสนุนเงินทุนจากสถาบันการเงิน , การจัดแสดงผลงานนวัตกรรมยางพาราภาคอุตสาหกรรม , การเปิดคลินิกให้ความรู้ด้านยางพารา , การจัดแสดงผลงาน 10 สุดยอดนวัตกรรมเด่นด้านยางพารา, การทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับผู้ประกอบการ ในการนำยางพารา และผลิตภัณฑ์ยางพาราไปใช้ ฯลฯ 
 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.86 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.94 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.09  
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.36 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.94 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.86 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.94 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.94 บาท เพิ่มขึ้นจาก 20.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.13 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.43
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.51 บาท เพิ่มขึ้นจาก 17.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.69 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.87
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.28 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.41 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.37
 
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2561 ณ ท่าเรือกรุงเทพ 
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.09 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.56
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.94 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.59
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.05 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.95 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.11
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.84 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.71 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88
 
ณ ท่าเรือสงขลา  
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.84 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.69 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.95 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.59 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.71 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.89
 
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และตลาดโตเกียวปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก ประเทศผู้ปลูกยางรายใหญ่อย่างไทยมีฝนตกชุกและพื้นที่กรีดยางบางแห่งยังยังอยู่ในช่วงปิดกรีดทำให้ปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดลดลง ทางด้านการเพาะปลูกยางมในต่างประเทศ นาย Nana Opanbour Bonsu   ประธานาธิบดีของประเทศกาน่า แสดงความไม่พอใจที่มีการโค่นต้นโกโก้เพื่อปลูกยางของเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ในทางภาคตะวันออก โดยสมาคม Ghana Agriculture and Rural Development Journalist Association (GARDJA) ได้รายงานว่ามีพื้นที่ประมาณ 15,000 เอเคอร์ (37,950 ไร่) ที่คาดว่าจะมีการปลูกยาง โดยในปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกโกโก้ที่ถูกทำลายไปแล้วกว่า 375 เอเคอร์ (949 ไร่) ซึ่งประธานาธิบดีได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า  หากกาน่าสูญเสียการปลูกโกโก้ไปแล้ว ก็จะไม่มีความเป็นกาน่าหลงเหลืออยู่ เพราะโกโก้เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจกาน่า ซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารและสร้างการจ้างงานแล้ว โกโก้ยังเป็นสินค้าโภคภัณฑ์สำหรับการส่งออกด้วย 

ราคายางแผ่นรมควันชั้น3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 171.62 เซนต์สหรัฐฯ (54.31 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 171.38 เซนต์สหรัฐฯ (53.77 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.24 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 183.95 เยน (52.94 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 183.50 เยน (52.15 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.45 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25

 

 
สับปะรด
 

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                               
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 23.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 17.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.57
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 13.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 11.11
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.96
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี     
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 788.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.96 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 827.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.99 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 725.20 ดอลลาร์สหรัฐ (22.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 763.00 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.95 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.99 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 534.00 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 586.75 ดอลลาร์สหรัฐ (18.41 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.99 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.51 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 407.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 458.75 ดอลลาร์สหรัฐ (14.39 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.28 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.51 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 814.00 ดอลลาร์สหรัฐ (25.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 836.75 ดอลลาร์สหรัฐ (26.25 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.72 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.49 บาท
 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ ดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.86 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.73
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด  สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.53 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.36
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 


ฝ้าย
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฏาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 85.74 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.45 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 84.44 เซนต์ (กิโลกรัมละ 59.23 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.78 บาท
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,681 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,319 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา     
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,098 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
          สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ยังคงสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากผลจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน บางพื้นที่ร้อนและบางพื้นที่มีฝนตก  ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
          สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  57.70  บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.19  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 56.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.55 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.22 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.56 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 61 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.30

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
          ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภค   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่    ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.51 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
          สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคใกล้เคียงและสอดคล้องกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 276 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 276 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 276 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 323 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.82  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 304 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  349 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
          ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 91.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.88 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.31 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.39 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 
 


 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 –10 พฤษภาคม 2561 ) ไม่มีรายงานปริมาณ จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ 
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.47 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 36.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.86 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.35 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 87.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ137.59 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.32 บาท 

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ  124.17บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.33 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.24 บาท    ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.06 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00  บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.80 บาท ราคาทรงตัวเทากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4 – 10 พ.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา